ปัญหาบ้านทรุดตัวเกิดจากอะไร? แก้ไขอย่างไร?
วันที่อัพเดท 2023-06-21 17:50:01บ้านทรุดตัวเป็นปัญหาโลกแตกที่ต้องเกิดขึ้นกับทุกบ้าน ขึ้นอยู่กับว่าจะมากหรือจะน้อย และส่งผลต่อตัวบ้านหรือไม่ ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เมื่อพบปปัญหาแล้วก็ควรรีบดำเนินการแก้ไข ก่อนที่จะส่งผลถึงตัวบ้าน และกลายเป็นปัญหาใหย่ที่ไม่สามารถแก้ไขได้
สาเหตุการทรุดตัวของบ้าน
- การก่อสร้างบนดินที่ยังไม่เซ็ตตัว
ดินแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ทั้งความเหนียว ความหนาแน่น ดังนั้นลักษณะการทรุดตัวจึงต่างกันไป ก่อนที่จะสร้างบ้านควรศึกษาพื้นที่ดินบริเวณนั้นๆก่อนว่าเป็นดินแบบไหน และเคยเป็นบ่อ นา มาก่อนรึเปล่า หากไม่มั่นใจแนะนำให้ถามคนในละเวกนั้น รวมทั้งการซื้อบ้านจากโครงการด้วยเช่นกัน การสร้างบ้านบนดินที่ยังไม่เซ็ตตัว หรือรีบถมดินและสร้างบ้านเลย จะทำให้บ้านเกิดการทรุดตัวได้ง่าย แนะนำว่าดินควรถมทิ้งไว้เป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือนจนถึง 1 ปี ถ้ามีการบดอัดดินด้วยจะทำให้ดินมีความแข็งเซ็ตตัวมากขึ้น ช่วยลดการทรุดตัวของบ้านในระยะยาวได้
- การไม่ได้ลงเสาเข็ม หรือเสาเข็มสั้นเกินไป
เชื้อว่าหลายๆคนคงเจอปัญหา พื้นที่ส่วนต่อเติมเช่นครัวหลังบ้าน ทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว และรอยต่อระหวว่างพื้นที่นั้นกับตัวบ้านก็เกิดการแยกตัวกัน ทั้งนี้อาจเกิดจากการไม่ได้ลงงเสาเข็มในพื้นที่ต่อเติม หรือลงเสาเข็มสั้นเกินไป ทุกๆครั้งที่มีการต่อเติม ไม่ควรให้พื้นที่นั้นเชื่อมต่อกับตัวบ้าน เพราะเสาเข็มที่ลงในช่วงเวลาที่ต่างกัน จะมีการยุบตัวแตกต่างกัน เสาเข็มที่ลงในระยะแรกจะมีการทรุดตัวมาก และอัตราการทรุดตัวลงจะน้อยลงเรื่อยๆ ดังนั้น เสาเข็มของส่วนต่อเติมใหม่ กับตัวบ้านนั้นถึงแม้ว่าจะชนิดและขนาดที่เท่ากัน แต่เมื่อเจาะลงงไปในช่วงเวลาที่ห่างกัน การทรุดตัวย่อยต่างกัน และทำให้เกิดรอยร้าวได้ วิธีป้องกันคือ ควรลงเสาเข็มทุกครั้งที่มีการต่อเติม และไม่ควรให้พื้นที่เชื่อมต่อกัน แต่สามารถตติดกันได้ ความสูงของพื้น แนะนำว่าควรให้พื้นที่ต่อเติมต่ำกว่าพื้นในบ้านอย่างน้อย 5 เซนติเมตร เพื่อเผื่อเวลาทรุดตัว จะได้ไม่เกิดเป็นระยะที่อันตรายเวลาก้าวเดิน
- เสาเข็มมีการแตกหัก หรือเสาเข็มอยู่บนดินที่แตกต่างกัน
ในพื้นที่ที่ประกอบด้วยดินที่ต่างชนิดกัน ที่ชั้นใต้ดินซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ การลงเสาเข็มในระยะที่เท่ากัน บนดินต่างชนิดกัน ทำให้เกิดการทรุดตัวที่ไม่เสมอกัน หรือการที่เสาเข็มหักนั้นก็ทำให้เกิดผลลัพธ์เช่นเดียวกัน ทั้งสองสาเหตุนี้เราไม่สามารถรับรู้ได้เลย จนกระทั้งเกิดรอยร้าว หรือผลลัพธ์ที่ตัวบ้านให้เห็น วิธีป้องกันคือ การขุดเจาะสำรวจชั้นดินเพื่อให้วิศวกรทำการวิเคราะห์ก่อน ซึ่งในส่วนนี้ก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวอย่างแน่นอน เพราะเมื่อเกิความเสียหายขึ้นแล้ว การแก้ไขความเสียหายย่อมทำได้ยากกว่า
- น้ำหนักอาคาร
บ้านที่เป็นอาคารแถวหรือทาวน์โฮมที่มีโครงสร้างเชื่อมติดกับบ้านหลังอื่นๆ เมื่อเพื่อนบ้านมีการก่อสร้างต่อเติมน้ำหนักอาคารในปริมาณมาก หรือเป็นบ้านเดี่ยวที่มีการต่อเติมโดยไม่ได้แยกโครงสร้างกับอาคารเดิม ส่วนต่อเติมใหม่ที่มีน้ำหนักมากอาจมาดึงรั้งโครงสร้างของบ้านหลักจนเกิดการทรุดตัวหรือแตกร้าวได้
- การทรุดของดิน, ระดับน้ำใต้พื้นดินมีการเปลี่ยนแปลง และน้ำท่วม
บางพื้นที่ตั้งอยู่ในจุดที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน เวลาน้ำลดแล้วจะทำให้เกิดการชะหน้าดินหายไปทำให้ระดับดินลดลง ส่งผลให้เกิดหลุมโพรงใต้คานคอดิน แต่จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของบ้าน เพราะโดยปกติแล้วเสาเข็มจะเป็นตัวรับน้ำหนักของตัวบ้าน แม้ว่าจะมีการขุดดิน หน้าดินลดลง หรือสูบน้ำใต้ดินเล็กน้อยจะไม่ได้ทำให้เกิดการทรุดตัวมากนัก
ปัญหาที่ตามมาจากการทรุด
ปัญหาโพรง รอยต่อระหว่างพื้นกับคานคอดิน
เมื่อพื้นดินเกิดการทรุดตัวทำให้เกิดช่องว่างระหว่างพื้นดินกับตัวบ้าน ตัวบ้านอาจไม่ได้รับความเสียหายมากนัก แต่ที่โพรงใต้บ้านนั้นอาจมีสัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์มีพิษมาอาศัยอยู่ร่วมกับเราได้ จึงไม่ควรชะล่าใจและหาทางแก้ปัญหาโดยเร็ว
ปัญหารอยแตกร้าว ทำให้เกิดการรั่วซึมหรือแยกส่วน
ปัญหารอยร้าวเล็กๆตามผนัง ไปจนถึงการแยกตัวจนเกิดช่องว่างขนาดใหญ่ ทำให้น้ำสามารถรั่วซึมเข้ามาได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจนำไปสู่โครงสร้างบ้านเสียหาย ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย
วิธีการแก้ไขปัญหา
การแก้ไขปัญหาโพรง รอยต่อระหว่างพื้นกับคานคอดิน
1 ถมดินเพิ่มในส่วนที่ขาดหายไป เนื่องจากบ้านไม่ได้มีความเสียหาย การแก้ปัญหาช่องว่างระหว่างพื้นดินกับบ้าน โดยการนำดินมาอุดจึงสามารถเพียงพอแล้ว เราสามารถขุดเอาดินจากบริเวณรอบๆบ้านมาใช้ หรือซื้อดินมาอุดก็ได้
2 เทคอนกรีตหรือก่ออิฐปิดบริเวณรอยต่อ บางบ้านมีการเทพื้นด้วยคอนกรีต หากรอยแยกไม่ใหญ่มาก สามารถใช้วิธีการหยอดคอนกรีตลงไปอุดได้ แต่หากรอยแยกมีขนาดใหญ่มากๆอาจต้องใช้อิฐมอญเข้าช่วย ด้้วยการก่ออิฐต่อจากคานคอดินเดิมเพื่อปิดโพรง แล้วฉาบปูนทับ
การแก้ไขปัญหารอยแตกร้าว ทำให้เกิดการรั่วซึมหรือแยกส่วน
1. ติดต่อโครงการขาย
ในกรณีที่ซื้อบ้านใหม่ ผู้ขายจะรับประกันบ้าน คือ หลักประกันความปลอดภัยและคุณภาพของสิ่งปลูกสร้างที่ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
โดยทั่วไปแล้วการประกันบ้านจะมีกำหนดระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี หรือกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขภายใต้กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งรวมอยู่ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และพระราชบัญญัติที่ดินที่คุ้มครองอยู่ เมื่อทำสัญญาซื้อขายบ้าน ผู้ขายจะระบุเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน เพื่อรับประกันว่ารับผิดชอบและซ่อมแซมในกรณีที่เกิดความเสียหายในส่วนต่าง ๆ ของบ้าน
หากเจ้าของบ้านไม่ต่อเติมบ้านที่ผิดเงื่อนไขการรับประกัน ก็สามารถเรียกร้องให้ผู้ขายดำเนินการแก้ไขปัญหาบ้านทรุดได้ หากผู้ขายไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหา เจ้าของบ้านสามารถแจ้งสำนักงานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภภค (สคบ.)หรือฟ้องศาลแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย หรือฟ้องศาลอาญาเพื่อเอาผิดฐานฉ้อโกงได้
2. ปรึกษาวิศวกรก่อสร้าง
ในกรณีที่เป็นบ้านเก่าหรือหมดประกันแล้ว หากบ้านทรุดต้องแก้อย่างไรจึงจะถูกต้อง ขอแนะนำว่าอย่าเรียกใช้ช่างก่อสร้างทั่วไปมาซ่อมแซมตามปัญหาที่เห็นจากสายตา แต่ควรติดต่อบริษัทผู้เชี่ยวชาญหรือวิศวกรก่อสร้างให้เข้ามาวิเคราะห์สาเหตุและหาทางแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งอาจต้องขุดพื้นดินเพื่อซ่อมฐานราก หรือใช้เสาดามเพื่อค้ำยันตัวบ้านด้านที่ทรุดเอียง โดยวิธีการซ่อมบ้านทรุดนั้นมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะและความรุนแรงของปัญหาที่พบ
3. ดีดบ้านเพื่อปรับฐานราก
ในกรณีที่พื้นดินทรุดตัวหนักหรือฐานรากเสียหายจนเกินซ่อมแซม ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาบ้านทรุดได้แบบไม่ต้องทุบทิ้ง นั่นก็คือ การดีดบ้าน โดยบ้านจะถูกตัดออกจากฐานรากเดิม แล้วยกขึ้นจนลอยตัวเพื่อรื้อฐานรากใหม่ ก่อนจะประกบตัวบ้านให้ติดกับฐานรากใหม่ แต่การดีดบ้านก็เป็นบริการที่มีราคาแพงมาก บ้านยิ่งใหญ่ ยิ่งหนัก ก็ยิ่งทำได้ยาก และต้องดำเนินการโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นจึงจะปลอดภัย